วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบ้าน : นามสกุลไฟล์รูปภาพ และนามสกุลไฟล์เสียง


นามสกุลไฟล์รูปภาพ และนามสกุลไฟล์เสียง

ไฟล์รูปภาพ

         Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึกไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก
        JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้ คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนใบหน้าเริ่มเขียว อยู่ที่ 4คุณจะสังเกตเห็นความหยาบกร้านมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น
        BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้
        GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณ-สมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซค์
         TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้เช่นนี้ น้องๆหลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่ ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ
        EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะRastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap
        PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintoshแสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมดRGB เท่านั้นค่ะ
        PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว
        RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ" หมายถึงไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิดไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบRAW ได้เท่านั้น
          ที่มา : http://thai.sewsense.com/index.php?topic=1649.0
_______________________________________________________

ไฟล์เสียง

          MIDI (.mid) ย่อมาจาก Musical Instrument Digital Interface เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถบันทึกเสียงร้องได้ เพราะเป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งที่ส่งไปให้อุปกรณ์ดนตรีแสดงเสียงออกมาตามข้อมูลที่อยู่ข้างในได้ ทำให้อุปกรณ์ดนตรีที่ต่างกัน เมื่อได้ทำงานกับไฟล์ midi อันเดียวกัน อาจทำเสียงออกมาไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ไฟล์แบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก และแก้ไขได้ง่าย สามารถประยุกต์ให้ midi เหล่านี้ออกมาเป็นเสียงดนตรีจริงๆได้ ดังนั้นคุณภาพเสียงที่อ่านได้จาก midi จะดีแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับ sound card (support midi) หรือ อุปกรณ์+software ประเภท synthesizer
          WAVE (.wav) เป็นไฟล์เสียงที่ได้มาจากการบันทึกเสียง แล้วเก็บไว้ในระบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำไฟล์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆต่อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเสียง ผสมเสียง หรือ convert ไปเป็นไฟล์เสียงประเภทอื่นๆได้ (เมื่อทำงานร่วมกับsoftware) ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ เพราะสามารถเก็บความละเอียดไว้ได้มากเท่าที่เราต้องการโดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล (นอกจากว่าจะมาปรับแต่งทีหลัง) เป็นไฟล์เสียงประเภทหนึ่งที่มักจะพบในวงการดนตรีมาก (อย่างน้อยที่สุดก็เป็นเสียงของนักร้อง)
          CD Audio (.cda) เป็นไฟล์เสียงที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี ใช้เล่นกับเครื่องเสียงทั่วไป ไฟล์ประเภทนี้มีความคมชัดของสัญญาณมาก เพราะไม่มีการบีบอัดข้อมูล เพียงเข้ารหัสในระบบ Linear PCM เป็นไฟล์ .cda ที่มักจะตั้งค่าการเก็บข้อมูลเสียงโดยการสุ่มและแปลงสัญญาณไว้ที่ 44,100 ครั้งต่อวินาที ปกติคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านไฟล์นี้ได้โดยตรง ต้องเล่นผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องเสียง ซีดีรอม หรือ software บางชนิด
          MP3 (.mp3) เป็นที่นิยมมากในหมู่นักฟังเพลงทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเป็นไฟล์เสียงที่ถูกบีบข้อมูลให้เล็กลงจากสัญญาณเสียงจริงได้ถึง 10 เท่า โดยเราสามารถเลือกความละเอียดของการเข้ารหัสได้ ทำให้คุณภาพเสียงของไฟล์ประเภทนี้ที่บีบอัดข้อมูลไม่มากนัก มีคุณภาพดีใช้ได้เลยทีเดียว (bitrate 128 Kbps) และเนื่องจากความเล็กของไฟล์ประเภทนี้ทำให้เป็นที่นิยมในการส่งไฟล์นี้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันด้วย
          WMA (.wma) เป็นไฟล์เสียงที่ บ.ไมโครซอฟท์ คิดขึ้นมาให้ทำงานร่วมกับโปรแกรมWindows Media Player ของระบบวินโดว์ สามารถฟังเสียงผ่านระบบ streaming ได้ คือ ดาวน์โหลดข้อมูลไปด้วย พร้อมกับถอดรหัสเสียงให้ฟังไปพร้อมๆกันเลย โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดครบ 100% ส่วนคุณภาพเสียงนั้นมีความละเอียดสูงไม่แพ้ mp3 128 Kbps เลย แต่จะมีขนาดเล็กกว่า mp3 ที่ความละเอียดเสียงพอๆกัน เพราะเข้ารหัสแบบ bitrate 64 Kbps (ครึ่งเดียว) ปัจจุบันเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ได้หันมารองรับไฟล์ระบบนี้มากขึ้นแล้ว
          Real Audio (.ra) เป็นไฟล์เสียงที่ทำงานคู่กับโปรแกรม Real Player เน้นการทำงานแบบ Streaming สามารถฟังเสียงและดูภาพขณะกำลังดาวน์โหลดข้อมูลได้พร้อมๆกันเลย มีหลายความละเอียดให้เลือกหลายระดับ เป็นที่นิยมในหมู่นักดูหนังฟังเพลงในอินเตอร์เน็ตมาก
          Audio Streaming Format (.asf) เป็นไฟล์เสียงหนึ่งที่มีรูปแบบ Streaming ที่เน้นส่งข้อมูลเสียงแบบ real time ใช้กันมากในการฟังวิทยุออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต
          Audio Interchange File Format (.aif , .aiff) เป็นไฟล์ลักษณะคล้ายไฟล์ Waveแต่ใช้สำหรับเครื่อง Macintosh ACC (.acc) เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงมาก สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital หรือAC-
           ที่มา http://blog.eduzones.com/ditsapol/14099

อนุทินครั้งที่ 6

สิ่งที่เรียนรู้
- Hardware รับข้อมูล Input Devices เข้า Information System ได้แก่ Keyboard, Mouse, Joystick ,Scanner,etc.
Output Devices ได้แก่ Monitor, Printer ,Sound speaker,etc.
ส่วนประมวลผล ได้แก่ หน่วยควบคุม CU หน่วยควบคุมและเปรียบเทียบ ALU
- Software ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ OS ทำหน้าที่จัดการไฟล์ใน Hardware ,GUI ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ตัวแปลภาษา Translator Program ประกอบด้วย Interpreter
- บุคลากรทางคอมพิวเตอร์
- ข้อมูลและสารสนเทศ
- ระเบียบปฏิบัติ และกระบวนการ
- การสื่อสารข้อมูล

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน
     การเรียนการสอนครั้งนี้เป็นเนื้อหาที่ใกล้ตัว และเข้าใจง่าย มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลา เรื่องที่เรียนนั้นช่วยทำให้นิสิตได้เข้าใจ Hardware Software มากยิ่งขึ้น 

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 

1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)

2. ซอฟต์แวร์

3. ข้อมูล

4. บุคลากร

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน



ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ


ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ  



ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/homepage

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 5

ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งตามลักษณะข้อมูล 
      คอมพิวเตอร์อนาลอก (Analog Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ยุกแรก ประมวลผลแบบต่อเนื่อง อยู่ในรูปความถี่ต่อเนื่องแต่ไม่คงที่ เช่น คอมพิวเตร์ที่ใช้ตรวจวัดสายตา วัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดระดับเสียง ตรวจคลื่นสมอง
      คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบไม่ต่อเนื่อง เป็นข้อมูลสามารถนับได้แน่นอนนับทีละ 1 หน่วย เช่น การนับจำนวนคน คอมพิวเตอร์ดิจิตอลจะรับข้อมูลตัวเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1
      คอมพิวเตอร์ไฮบริด (Hybrid Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์อนาลอกและคอมพิวเตอร์ดิจิตอล ในการประมวผลข้อมูลเพื่อการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือตรวจวัดการเต้นของหัวใจ


แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
      คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป (General - Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามรถใช้กับงานหลายด้านในเครื่องเดียวกัน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานจัดการเอกสาร งานกราฟฟิก งานฐานข้อมูล
      คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special - Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานเฉพาะงานใดงานหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น เครื่อง ATM


แบ่งตามขนาดของคอมพิวเตอร์
      ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดของไมโครคอมพิวเตอร์เช่น พ็อกเก็ต แล็ปท็อป เน็ตบุ๊ก
      มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่กว่าไมโครคอมพิวเตอร์ รองรับการการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศของผู้ใช้งานจำนวนมากได้ใช้ในหน่วยงานขนาดเล็กถึงหน่วยงานระดับกลางสามารถเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ในแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย การประมวลผลแบบกระจายออกไปแทนที่จะเป็นการประมวลผลแบบศูนย์รวม
      เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามินิคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำมีความจุ เทลาไปต์ (Terabyte) ความแตกต่างของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์กับมินิคอมพิวเตอร์คือ จำนวนของเทอร์มินัลขึ้นไปอาจมากถึง 10000 เครื่อง
      ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถประมวลผลแบบขนาน หรืออาจเรียกว่าประมวลผลพร้อมกันทีละหลายๆการประมวลผล มีไมโครโปรเซสเซอร์มากกว่า 1000 ตัว หน่วยความจำเป็นเทลาไปต์ขึ้นไป ใช้ในทางคำนวณที่ต้องการความละเอียดและความถูกต้องมากที่สุด


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of an Information system)


      ฮาร์ดแวร์ (Hardware) มี 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำสำรองหรือสื่อบันทึกข้อมูล


      ซอฟต์แวร์ (Software) ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ส่งให้หน่วยย่อยๆในฮาร์ดแวร์ทำงานโดยชุดคำสั่งถูกเขียนด้วยโปรแกรมภาษา ที่เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของหน่วยงานต่างๆในฮาร์ดแวร์ให้ทำงานประสานกัน และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานไว้แล้ว เช่น สามารถนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้งานของตนเองได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ


      บุคลากร (Peopleware) ประกอบด้วย 3 ฝ่ายงาน คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ฝ่ายปฏิบัติการและบริกา



      ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ Human Error, Data Error, Program Logic Error

      ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure) ขั้นตอนการเข้าลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินผลการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้บริการจองใช้ทรัพยากรอาคารเรียนรู้ สำนักห้องสมุด มก
.


       การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่อข่าย (Data Communications and Network System) เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลางจะเชื่อมต่อผ่านช่องทางการสื่อสารอาจเป็นแบบใช้สายหรือไร้สาย ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยช่องทางโทรคมนาคม

      เครือข่าย (Network) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ เครือข่ายระยะใกล้ (LAN) เครือข่ายระหว่างเมือง (MAN) และเครือข่ายระยะไกล (WAN)

อนุทินครั้งที่ 4


Knowledge Management (KM)

ข้อมูล(Data)ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง --> สารสนเทศ(Information)เข้าใจความสัมพันธ์ --> ความรู้(Knowledge)เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ --> ปัญญา(Wisdom)เข้าใจหลักการ
     ระบบสารสนเทศ หมายถึง การทำงานร่วมกันอย่างสัมพันธ์กันของแต่ลงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการนำข้อมูล เข้าเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลจนกลายเป็นสารสนเทศ ที่สมามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจหรือใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นระดับบุคคลกรือระดับองค์กร
      ความรู้ คือ สิ่งที่ได้มาจากปฏิบัติ ประสบการณ์ ซึ่งได้ยิน ได้ฟัง การคิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน
      การจัดการความรู้ คือ กระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่เน้นการพัฒนาการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ คนแต่ละคนสามารถพัฒนาความรู้ได้ คนภายในองค์กร สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับฐานความรผุ้ และทรัพยากรบุคคลในองค์กร
      กระบวนการจัดการความรู้
1. การกำหนดเป้าหมายความรู้ (Knowledge Desired)
2. หารสร้างหรือจัดหาความรู้ (Knowledge Creation หรือ Knowledge Acquisition)
3. การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้ (Knowledge Classified)
4. การเก็บความรู้ให้ระบบ (Knowledge Saving System)
5. การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7. การประยุกต์ความรู้ (Knowledge Applied)
8. การประมวลผลและวัดความรู้ (Knowledge Codification & Knowledge Measured)
9. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (To praise & Take a gift)
10. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)
      ความสำคัญของการจัดการความรู้
1. เป็นปัจจัยหละกของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการพฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการจ้างงานในระยะยาว
2. ประชาชนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้นและเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
      ประโยชน์ของการจัดการความรู้
1. ป้องกันการสูญหายของความรู้
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
3. ความสามารถในการปรับตัว และมีความยืดหยุ่น
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. องค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพน์สินทางปัญญาที่มีอยู่
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์
7. สร้างความพึงพใจและเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้
8. เพิ่มความสามารถการแข่งขันโดยผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน


ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
    อาจารย์สอนเสียงดังฟังชัด สนุกสนานไม่น่าเบื่อ สอดแทรกความรู้ทั่วไปนั้นดีด้วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา


 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
          หมวด 6 กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยแยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน  และการประกันคุณภาพภายนอก  การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องภายในของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำเองโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่การประกันคุณภาพเป็นการดำเนินงานโดยหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ  และมีความเป็นกลาง  และมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินเปรียบเทียบมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและดำเนินการเปรียบเทียบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น
          ตัวชี้วัดที่จะวัดมาตรฐานการศึกษาและกระบวนการประเมิน  เป็นสาระสำคัญที่หน่วยงานประเมินและประกันภายนอกจะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคตเมื่อได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนี้ในระดับกระทรวง  แต่หมวดนี้จะยังไม่กล่าวถึง
          หมวด 6 จะกล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพดังกล่าว  และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้เท่านั้น รายละเอียดดังในมาตรา ต่อไปนี้
          มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
          มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
           ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
           คำว่า มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน  หมายความว่า จะต้องจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเป็นองค์กรมหาชน  ซึ่งมีพระราชบัญญัติ
องค์กรมหาชนวางหลักเกณฑ์การจัดตั้ง  และกำหนดสถานภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระขององค์กรประเภทนี้องค์กรนี้ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงเกณฑ์ของ "มาตรฐาน"  และจะต้องมีรายละเอียดของตัวชี้วัดด้วย
          ในพระราชบัญญัติ กล่าวถึง มาตรฐานไว้หลายอย่าง ในมาตรา 33  สภาการศึกษาฯมีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ซึ่งจะเป็นมาตรฐานระดับกว้าง  ครอบคลุมทุกระดับ  ส่วนในมาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีหน้าที่พิจารณาเสนอ"มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาในมาตรา 33 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็มีหน้าที่พิจารณา "มาตราฐาน
อุดมศึกษา"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาฯ
          ฉะนั้น บทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานตามมาตรา 49 เป็นบทบาทหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับหน่วยงานตามมาตรา33 และมาตรา 34
          การกำหนด "มาตรฐาน" ดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับใดจะต้องสอดคล้องกับ"ความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้"
          ในวรรค 2 ของมาตรา 49 กำหนดให้สำนักงานประเมินคุณภาพภายนอกทุกๆ 5 ปีและรายงาน
          มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น
          มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
        
            แหล่งที่มา  :  http://www.moe.go.th/hp-vichai/ex-prb05-6.htm 

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems 
ของ Charles A. Prosser (1925)

1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4. ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14. ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16. ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุนต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า




งานที่มอบหมาย ให้นำมาจัดตามกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศได้ ดังนี้

Input
4
5
7
9
11
12
13
16

Process
1
2
3
6
8
10

Output
14
15

อนุทินครั้งที่ 3

        สิ่งที่เรียนรู้
        ระบบสารสนเทศในองค์กร สิ่งที่ขาดไม่ได้ของการบริหารจัดการ คือ 4M ได้แก่
Man Management Money และ Material
        แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A.Prosser
มี 16 ข้อ ให้เป็นการบ้าน หาและเปรียบเทียบว่าเป็น ข้อมูล ประมวลผล หรือสารสนเทศ
        ความสัมพันธ์ของข้อมูล ประมวลผล สารสนเทศ (Data > Process> Information)
ข้อมูล = ข้อมูลดิบ มีอยู่จริง มีความถูกต้อง ตรวจสอบได้
ประมวลผล = กระบวนการตั้งแต่การรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล
สารสนเทศ = ส่วนของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เสร็จสิ้น อยู่ในรูปที่มีความหมาย

                                         Data VS Information

Input >                                         Process                       > Output

1.รับข้อมูลเข้า                                                               ส่วนแสดงผล

2.ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล                                       ประมวลผลแล้ว

3.ข้อมูลดิบที่ยังไม่สามารถ                                            สามารถนำไปใช้ในการ
   ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่                                                  ตัดสินใจหรือประโยชน์

4.อาศัยเทคโนโลยีเป็นฐาน                                           ใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบาย
   ช่วยประมวล                                                               การบริหารจัดการ

แนวคิดการบริหารจัดการในองค์การยุคสารสนเทศ
        นวัตกรรมระบบสารสนเทศ มี 3 ระยะ
= ประดิษฐ์คิดค้น > พัฒนา > นำระบบสารเทศมาใช้

        ภารกิจหลักของสถานศึกษาอาชีวศึกษา
1.บริหารบุคลากร
2.บริหารงานธุรการ
3.บริหารงานการเงิน และการบัญชี
4.บริหารงานวิชาการ
5.บริหาร วางแผน และประกันคุณภาพ

        ระบบสารสนเทศในองค์กร
1. TPS
2. MIS
3. DSS
4. ELS
5. ES/Artificial Intelligence
6. OIS & OSA


        ความคิดเห็นต่อเนื้อหาบทเรียน
        รับรู้ถึงระบบสารสนเทศในองค์กร และองค์การ ข้อเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล กับสารสนเทศ
ประเภทของการประมวลผลต่างๆ และได้นำแนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษามาประยุกต์ใช้

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบ เชิงบวก และลบของการใช้คอมพิวเตอร์



ผลกระทบในทางบวก  
            1) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
            2) ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก
            3) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่นงานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยด้านต่างๆ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
            4) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้กิจการทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล เรามีเครื่องมือตรวจหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีเครื่องมือที่วัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
            5) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆ รวดเร็ว มีความแม่นยำ และสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มาก การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่นการจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ เป็นต้น
            6) เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง การใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้าขาย ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า อีดีไอ (Electronic Data Interchang : EDI)
            7) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่อโลกให้เล็กลง สังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง
            8) ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบบประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว

ผลกระทบที่มีผลต่อสังคมในทางลบ   
            1เกิดความวิตกกังวล แม้การใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยทุ่นแรงคนไปได้มากก็จริง  ในขณะเดียวกันก็สร้างงานทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นจากความต้องการใช้คนที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อีกมากเป็นการทดแทน  ดังนั้นจึงเท่ากับเปลี่ยนลักษณะงานจากการใช้แรงงานเป็นการใช้สมองการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคนงานเดิมที่มีการศึกษาน้อยอยู่บ้างแต่ถ้าคนงานสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ก็จะไม่ประสบปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลกระทบนี้คงจะเกิดขึ้นไม่นาน  เมื่อการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ ขยายตัวหรือ ถ้าหากหน่วยงานต่างๆ ได้วางแผนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้โดยรอบคอบแล้ว  ผลกระทบนี้ก็จะลดน้อยลง
             2ทำให้เกิดการเสี่ยงทางด้านธุรกิจ  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านธุรกิจอย่างเต็มที่เท่ากับเป็นการฝากลมหายใจไว้กับคอมพิวเตอร์  ถ้าหากไม่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ  ที่เป็นหัวใจของธุรกิจให้มั่นคงแล้วบังเอิญข้อมูลนั้นสูญหายไปด้วยประการใดก็ตาม  จะทำให้ธุรกิจนั้นถึงกับหายนะได้  แต่ถ้ามีการป้องกันข้อมูลต่างๆ โดยรอบคอบ เช่น ถ้ามีการสำเนาข้อมูลเก็บไว้ต่างหากแล้วแม้ข้อมูลที่ใช้จะสูญเสียไปก็อาจนำข้อมูลสำรองมาใช้งานได้
             3ทำให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การขโมยโปรแกรมและข้อมูลไปขายให้คู่แข่ง  ทำให้คู่แข่งขันได้เปรียบเพราะล่วงรู้ข้อมูลและแผนการทำงานของเราได้  นอกจากนี้ยังอาจมีการแอบใช้คอมพิวเตอร์ลักรอบแก้ไขดัดแปลงตังเลขในบัญชีของธนาคารโดยไม้ถูกต้องเป็นผลให้กิจการเสียหายได้  อาชญากรรมเหล่านี้จะเกิดมากขึ้นตามการขายตัวของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคต  และจำเป็นต้องมีการศึกษาหาทางป้องกัน
            4ทำให้มนุษย์สัมพันธ์เสื่อมถอย  การที่คนเราใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้น  ใช้เวลาในการสั่งงานและโต้ตอบกับเครื่องมากขึ้น  จะทำให้เกิดความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเราน้อยลง  เพราะการใช้งานคอมพิวเตอร์มีลักษณะของการสั่งงานข้างเดียวโดยไม่ต้องสนใจว่าเครื่องจะคิดอย่างไรต่อไปนานๆ เข้าคนอาจติดนิสัยในการคิดและทำงานโดยไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น และอาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางด้านมนุษยสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม  ผลกระทบนี้เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น  ยังไม่แน่ใจว่าจะเกิดจริงหรือไม่
            5ทำให้เกิดอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ๆ  คอมพิวเตอร์ไม่ใช่แต่จะช่วยในงานด้านค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น  แต่ยังอาจช่วยให้คนบางกลุ่มนำไปใช้ค้นคว้าหาทางสร้างอาวุธใหม่ๆ ที่มีอันตรายร้ายแรงมากๆ ได้ด้วยเช่นกัน
             6ทำให้เสียสุขภาพ  การใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกมเป็นเวลานานๆอาจทำให้เสียสายตา  และเกิดปัญหาเรื่องการเรียนกล่าวโดยสรุปแล้ว  คอมพิวเตอร์ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษแล้วแต่เราจะเลือกใช้งานทางใด  ถ้านำไปใช้ในทางที่เป็นภัย เช่นในการทำสงคราม  ผลกระทบในทางลบก็มีมาก  อย่างไรก็ตามเมื่อมองดูผลกระทบในส่วนรวมแล้ว จะเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์มากกว่าโทษ


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__15.html

กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม



MIS มีความสำคัญกับอาชีวศึกษาอย่างไร 
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง ที่กล่าวมาเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาอย่างมาก เป็นการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามที่เป้าหมายกำหนด เพื่อนำไปพัฒนากำลังคนและก่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์สภาพปัญหาMIS ที่เกิดกับ สอศ.
ปัญหาของMIS ที่เกิดกับ สอศ.น่าจะเกิดจากเรื่องของจำนวนคนในระบบที่ค่อนข้างมาก และการจัดการยังไม่เป็นระบบที่เชื่อมโยงกับดีพอ การอัพเดตข้อมูลของแต่ละสถานศึกษาที่ไม่ได้เป็นปัจจุบันตลอด และค่าใช้จ่าในการทำระบบสารสนเทศราคาค่อนข้างสูง

จงอธิบายกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร



กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้


กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนหารทำงานหลักๆดังนี้

1.การนำข้อมูลเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ(Data)ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลให้เป็นสารสนเทศ
2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวน หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดเป็นรูปแบบ และการเปรียนเทียบ ตัวการประมวลผล
3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบ กับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาค

อนุทินครั้งที่ 2


ข้อมูลแตกต่างกับสารสนเทศอย่างไร

 


ข้อมูล หมายถึงส่วนของข้อเท็จจริงที่เก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ตาม

สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลเรียบร้อยแล้วเพื่อนำไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 

System concept
ระบบการศึกษา ระบบธุรกิจ ที่ต้องมีกรอบงาน ความเข้าใจในลักษณะและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย ระบบอาจมีข้อมูลเดียวที่สามารถประเมินค่าได้เลย 

ผลประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 
-เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
-เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-สร้างโอกาสในการติดต่อลูกค้า
-บริการที่ดีขึ้น

-พัฒนาผลิตภัณฑ์
-ลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลในระบบได้

-มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ความคิดเห็นต่อบทเรียน
     บทเรียนในวันนี้ทำให้เห็นความเป็นมาของระบบสารสนเทศได้ดียิ่งขึ้น และทำให้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น