วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบ้าน : นามสกุลไฟล์รูปภาพ และนามสกุลไฟล์เสียง


นามสกุลไฟล์รูปภาพ และนามสกุลไฟล์เสียง

ไฟล์รูปภาพ

         Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึกไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก
        JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้ คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนใบหน้าเริ่มเขียว อยู่ที่ 4คุณจะสังเกตเห็นความหยาบกร้านมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น
        BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้
        GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณ-สมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซค์
         TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้เช่นนี้ น้องๆหลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่ ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ
        EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะRastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap
        PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintoshแสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมดRGB เท่านั้นค่ะ
        PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว
        RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ" หมายถึงไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิดไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบRAW ได้เท่านั้น
          ที่มา : http://thai.sewsense.com/index.php?topic=1649.0
_______________________________________________________

ไฟล์เสียง

          MIDI (.mid) ย่อมาจาก Musical Instrument Digital Interface เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถบันทึกเสียงร้องได้ เพราะเป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งที่ส่งไปให้อุปกรณ์ดนตรีแสดงเสียงออกมาตามข้อมูลที่อยู่ข้างในได้ ทำให้อุปกรณ์ดนตรีที่ต่างกัน เมื่อได้ทำงานกับไฟล์ midi อันเดียวกัน อาจทำเสียงออกมาไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ไฟล์แบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก และแก้ไขได้ง่าย สามารถประยุกต์ให้ midi เหล่านี้ออกมาเป็นเสียงดนตรีจริงๆได้ ดังนั้นคุณภาพเสียงที่อ่านได้จาก midi จะดีแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับ sound card (support midi) หรือ อุปกรณ์+software ประเภท synthesizer
          WAVE (.wav) เป็นไฟล์เสียงที่ได้มาจากการบันทึกเสียง แล้วเก็บไว้ในระบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำไฟล์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆต่อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเสียง ผสมเสียง หรือ convert ไปเป็นไฟล์เสียงประเภทอื่นๆได้ (เมื่อทำงานร่วมกับsoftware) ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ เพราะสามารถเก็บความละเอียดไว้ได้มากเท่าที่เราต้องการโดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล (นอกจากว่าจะมาปรับแต่งทีหลัง) เป็นไฟล์เสียงประเภทหนึ่งที่มักจะพบในวงการดนตรีมาก (อย่างน้อยที่สุดก็เป็นเสียงของนักร้อง)
          CD Audio (.cda) เป็นไฟล์เสียงที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี ใช้เล่นกับเครื่องเสียงทั่วไป ไฟล์ประเภทนี้มีความคมชัดของสัญญาณมาก เพราะไม่มีการบีบอัดข้อมูล เพียงเข้ารหัสในระบบ Linear PCM เป็นไฟล์ .cda ที่มักจะตั้งค่าการเก็บข้อมูลเสียงโดยการสุ่มและแปลงสัญญาณไว้ที่ 44,100 ครั้งต่อวินาที ปกติคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านไฟล์นี้ได้โดยตรง ต้องเล่นผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องเสียง ซีดีรอม หรือ software บางชนิด
          MP3 (.mp3) เป็นที่นิยมมากในหมู่นักฟังเพลงทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเป็นไฟล์เสียงที่ถูกบีบข้อมูลให้เล็กลงจากสัญญาณเสียงจริงได้ถึง 10 เท่า โดยเราสามารถเลือกความละเอียดของการเข้ารหัสได้ ทำให้คุณภาพเสียงของไฟล์ประเภทนี้ที่บีบอัดข้อมูลไม่มากนัก มีคุณภาพดีใช้ได้เลยทีเดียว (bitrate 128 Kbps) และเนื่องจากความเล็กของไฟล์ประเภทนี้ทำให้เป็นที่นิยมในการส่งไฟล์นี้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันด้วย
          WMA (.wma) เป็นไฟล์เสียงที่ บ.ไมโครซอฟท์ คิดขึ้นมาให้ทำงานร่วมกับโปรแกรมWindows Media Player ของระบบวินโดว์ สามารถฟังเสียงผ่านระบบ streaming ได้ คือ ดาวน์โหลดข้อมูลไปด้วย พร้อมกับถอดรหัสเสียงให้ฟังไปพร้อมๆกันเลย โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดครบ 100% ส่วนคุณภาพเสียงนั้นมีความละเอียดสูงไม่แพ้ mp3 128 Kbps เลย แต่จะมีขนาดเล็กกว่า mp3 ที่ความละเอียดเสียงพอๆกัน เพราะเข้ารหัสแบบ bitrate 64 Kbps (ครึ่งเดียว) ปัจจุบันเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ได้หันมารองรับไฟล์ระบบนี้มากขึ้นแล้ว
          Real Audio (.ra) เป็นไฟล์เสียงที่ทำงานคู่กับโปรแกรม Real Player เน้นการทำงานแบบ Streaming สามารถฟังเสียงและดูภาพขณะกำลังดาวน์โหลดข้อมูลได้พร้อมๆกันเลย มีหลายความละเอียดให้เลือกหลายระดับ เป็นที่นิยมในหมู่นักดูหนังฟังเพลงในอินเตอร์เน็ตมาก
          Audio Streaming Format (.asf) เป็นไฟล์เสียงหนึ่งที่มีรูปแบบ Streaming ที่เน้นส่งข้อมูลเสียงแบบ real time ใช้กันมากในการฟังวิทยุออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต
          Audio Interchange File Format (.aif , .aiff) เป็นไฟล์ลักษณะคล้ายไฟล์ Waveแต่ใช้สำหรับเครื่อง Macintosh ACC (.acc) เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงมาก สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital หรือAC-
           ที่มา http://blog.eduzones.com/ditsapol/14099

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น