วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 5

ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งตามลักษณะข้อมูล 
      คอมพิวเตอร์อนาลอก (Analog Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ยุกแรก ประมวลผลแบบต่อเนื่อง อยู่ในรูปความถี่ต่อเนื่องแต่ไม่คงที่ เช่น คอมพิวเตร์ที่ใช้ตรวจวัดสายตา วัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดระดับเสียง ตรวจคลื่นสมอง
      คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบไม่ต่อเนื่อง เป็นข้อมูลสามารถนับได้แน่นอนนับทีละ 1 หน่วย เช่น การนับจำนวนคน คอมพิวเตอร์ดิจิตอลจะรับข้อมูลตัวเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1
      คอมพิวเตอร์ไฮบริด (Hybrid Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์อนาลอกและคอมพิวเตอร์ดิจิตอล ในการประมวผลข้อมูลเพื่อการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือตรวจวัดการเต้นของหัวใจ


แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
      คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป (General - Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามรถใช้กับงานหลายด้านในเครื่องเดียวกัน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานจัดการเอกสาร งานกราฟฟิก งานฐานข้อมูล
      คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special - Purpose Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานเฉพาะงานใดงานหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น เครื่อง ATM


แบ่งตามขนาดของคอมพิวเตอร์
      ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดของไมโครคอมพิวเตอร์เช่น พ็อกเก็ต แล็ปท็อป เน็ตบุ๊ก
      มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่กว่าไมโครคอมพิวเตอร์ รองรับการการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศของผู้ใช้งานจำนวนมากได้ใช้ในหน่วยงานขนาดเล็กถึงหน่วยงานระดับกลางสามารถเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ในแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย การประมวลผลแบบกระจายออกไปแทนที่จะเป็นการประมวลผลแบบศูนย์รวม
      เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามินิคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำมีความจุ เทลาไปต์ (Terabyte) ความแตกต่างของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์กับมินิคอมพิวเตอร์คือ จำนวนของเทอร์มินัลขึ้นไปอาจมากถึง 10000 เครื่อง
      ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถประมวลผลแบบขนาน หรืออาจเรียกว่าประมวลผลพร้อมกันทีละหลายๆการประมวลผล มีไมโครโปรเซสเซอร์มากกว่า 1000 ตัว หน่วยความจำเป็นเทลาไปต์ขึ้นไป ใช้ในทางคำนวณที่ต้องการความละเอียดและความถูกต้องมากที่สุด


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of an Information system)


      ฮาร์ดแวร์ (Hardware) มี 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำสำรองหรือสื่อบันทึกข้อมูล


      ซอฟต์แวร์ (Software) ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ส่งให้หน่วยย่อยๆในฮาร์ดแวร์ทำงานโดยชุดคำสั่งถูกเขียนด้วยโปรแกรมภาษา ที่เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของหน่วยงานต่างๆในฮาร์ดแวร์ให้ทำงานประสานกัน และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานไว้แล้ว เช่น สามารถนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้งานของตนเองได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ


      บุคลากร (Peopleware) ประกอบด้วย 3 ฝ่ายงาน คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ฝ่ายปฏิบัติการและบริกา



      ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ Human Error, Data Error, Program Logic Error

      ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure) ขั้นตอนการเข้าลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินผลการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้บริการจองใช้ทรัพยากรอาคารเรียนรู้ สำนักห้องสมุด มก
.


       การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่อข่าย (Data Communications and Network System) เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลางจะเชื่อมต่อผ่านช่องทางการสื่อสารอาจเป็นแบบใช้สายหรือไร้สาย ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยช่องทางโทรคมนาคม

      เครือข่าย (Network) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ เครือข่ายระยะใกล้ (LAN) เครือข่ายระหว่างเมือง (MAN) และเครือข่ายระยะไกล (WAN)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น